สาเหตุจากการหดตัวของงานปักและการแก้ไข
ปัญหา | สาเหตุของปัญหา | การแก้ไขปัญหา |
---|---|---|
1.ความตึงของไหมปักไม่เหมาะสม | ความตึงของไหมปักและด้ายล่างมีมากเกินไปทำให้ฝีเข็มตึง | ปรับความตึงของไหมปักและกระสวยเพือไม่ใหฝีเข็มตึงเกินไป |
2.แรงขอตีนผีไม่เหมาะสม | แรงของตีนผีที่ทดลงผ้าปักมากเกินไป | ให้ผ่อนแรงกดของตีนผ |
3.รูของปักบนจานเข็มมีขนาดไม่เหมาะสม | รูเข็มปักบนจานเข็มมีขนาดใหญ่เกินขนาดของเข็มปัก | เลือกจานเข็มที่มีรูเข็มปักเหมาะกับเข็มปัก |
4.เข็มมีปัญหา | หัวเข็มปักทู่,ขนาดของเข็มปักใหญ่เกินไป | เปลี่ยนเข็มใหม่ ใช้เข็มปักให้เหมาะสม |
เรื่อง | สาเหตุของปัญหา | การแก้ไขปัญหา |
---|---|---|
ลายปัก | A. ฝีเข็มถี่เกินไป | A. แก้ไขฝีเข็มในลายปักให้เหมาะสม |
B. ไหมขาดซ้ำในตำแหน่งเดียวกันบ่อย | B. แก้ไขฝีเข็มในลายปักให้เหมาะสม | |
เข็มปัก | A. เข็มปักไม่เหมาะสมกับขนาดของไหม | A. เปลี่ยนเข็มปักให้เหมะกับขนาดของไหม |
B. เข็มปักงอหรือหัก | B. เปลี่ยนเข็มปักใหม่ | |
C. เข็มปักตั้งไม่ถูกตำแหน่ง | C. ตั้งเข็มปักให้ถูกตำแหน่ง | |
D. เมื่อปักผ้าแบบผ้าปะจะมีกาวติดที่เข็ม | D. ทำความสะอาดเข็มปักหรือเปลี่ยนเข็มปักใหม่ | |
E. รูหรือร่องเข็มปักไม่เรียบ | E. เปลี่ยนเข็มปักใหม่ที่รูเข็มเรียบ | |
ไหมปัก | A. ขนาดของไหมปักไม่เหมะสมกับเข็มปัก | A. เปลี่ยนไหมปักให้เหมาะกับเข็ม |
B. คุณภาพของไหมปักต่ำ (เก่า,ย้อย,เกลียวแตก, ความหนาไม่เท่ากัน) |
B. เลือกคุณภาพของไหมปักให้อยู่ในเกณฑ์ดี | |
C. ใช้ไหมตีเกลียวขวา | C. ให้ใช้ไหมตีเกลียวซ้าย | |
ความตึงของไหมบนและไหมล่าง | A. ความตึงของไหมบนและด้ายล่างตึงเกินไป | A. เปลี่ยนไหมปักให้เหมาะกับเข็มปัก |
B. ความตึงของไหมบนและด้ายล่างไม่ สัมพันธ์กัน | B. ปรับความตึงของไหมบนและด้ายล่างให้สัมพันธ์กัน | |
C. สปริงตัวกระตุกไหมแข็งเกินไป | C. ปรับหรือเปลี่ยนสปริงตัวกระตุกไหม |
กระดาษรองปัก
กระดาษรองปักถูกใช้เพื่อป้องกันการยืดหรือหดตัวของผ้าที่เกิดจากการปักและถูกยึดด้วยสะดึง(ผ้ายืดจะจะยืดและหดอย่างชัดเจน) วางกระดาษรองปักใต้ผ้าทีต้องการปัก โดยให้ขนาดของกระดาษมีขนาดใกล้เคียงกับลวดลายที่จะปัก
ชนิดของกระดาษรองปัก | คุณลักษณะ | การฉีดกระดาษหลังปัก | ต้นทุนกระดาษ |
---|---|---|---|
กระดาษรองปักญี่ปุ่น | เหมาะกับการปัก | ค่อนข้างเหนียวแข็งเนื่องจากความหยาบของกระดาษติดทนและลอกออกค่อนข้างยาก | ค่อนข้างแพง |
กระดาษมัน(กระดาษพาราพินกระดาษไข) | เข็มสามารถผ่านได้ดี,ไม่เกิดปํญหาไหมขาด | เหมาะที่จะใช้เป็นกระดาษรองปัก ลอกออกง่าย | แพง |
กระดาษที่ใช้เครื่องทำ(หลายชนิด) | ไม่ทนและไม่เหมาะกับการใช้เป็นผ้ารองปัก | ต้นทุนต่ำจึงนำมาใช้เป็นกระดาษรองปัก ลอกออกง่าย | ไม่แพงนัก |
กระดาษหนังสือพิมพ์ | ไม่เหมาะกับการใช้เป็นกระดาษรองเพราะมีตัวพิมพ์ที่กระดาษ | ต้นทุนต่ำจึงนำมาใช้กับงานปักที่มีราคาถูกลอกออกง่าย | ถูกมาก |
กระดาษใยสังเคราะห์ | เหมาะที่สุดสำหรับงานปัก | ลอกออกไม่ง่ายนัก | แพง |
อื่นๆ: ผ้ารองปักที่มีส่วนผสมของพลาสติก
-ละลายโดยใช้น้ำเย็นหรือน้ำร้อน
-ละลายโดยความร้อน
ข้อสังเกต: ผ้ารองปักที่มีส่วนผสมของพลาสติกจะถูกใช้ในบางกรณี
การใช้กระดาษรองปัก
โดยทั่วไปกระดาษรองปักจะติดกับด้านหลังผ้าที่จะปัก
วางงานปักบนสดึง ขึงกระดาษรองปักด้วยสดึง วางผ้าที่จะปักบนสดึง กรณีนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการใมรอยสะดึงบนผ้า
เทคนิคการเลือกเข็ม
การเลือกเข็มที่เหมาะสมนั้น ชนิดและความหนาของเนื้อผ้าสำคัญมากถ้าเลือกเข็มที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ฝีเข็มไม่สวย,ไหมขาด หรือเข็มกระโดดโดยทั่วไปจะใช้เข็ม DBxK5 สำหรับงานปัก
1.ชนิดของเข็ม
รหัส |
การใช้งาน |
เบอร์ |
DBx1 |
ฝีเข็มทั่วไป |
7-25 |
DBx1KN |
สำหรับผ้านิตติ้ง(ตัวเข็มบาง แต่รูเข็มจะใหญ่) |
8-14 |
DB-K23 |
ฝีเข็ม(รูเข็มจะใหญ่กว่า KN) |
9-12 |
DBx1738 |
ป้องกันเข็มกระโดด |
8-25 |
DBxK5 |
สำหรับงานปัก (พัฒนาจาก DBx1 แต่รูจะใหญ่กว่า2 เท่า) |
9-18 |
DAx1 |
สำหรับชิ้นงานบางๆเช่นเชิ้ต |
7-22 |
DAx1KN |
สำหรับผ้านิตติ้ง (ตัวเข็มจะบางกว่าแต่รูเข็มใหญ่) |
8-11 |
ข้อสังเกต: DBxK5 จะมีรูเข็มที่ใหญ่กว่า DBx1 2 เท่า ดังนั้งสำหรับงานปักแล้วควรจะใช้ DBxK5
2.เข็มกระโดด
อาการเข็มกระโดดเป็นเพราะห่วงที่เกิดจากไหม และตำแหน่งของความสัมพันธ์ระหว่างเข็มและเขี้ยวโรตารี่ฮุค ตั้งเขี้ยวให้ใกล้กับเข็มที่สุดเพื่อให้เขี้ยวสามารถเกี่ยวไปในห่วงได้อย่างสม่ำเสมอ ห่างที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของไหม,เข็มและชนิดของเนื้อผ้าที่ใช้ปัก
ในรูปแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของห่วงที่เกิดจากไหมต่างชนิดกันถ้าห่วงที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอก็จะทำให้เกิดอาการเข็มกระโดดได้
ขนาดของรูเข็มและช่องเข็มด้านหน้า ต่างกันไปตามขนาดของเข็ม ร่องเข็มมีส่วนสำคัญอย่างมากในกระบวนการปักเพราะช่วงระหว่างที่เข็มแทงเข้าไปในเนื้อผ้าและออกจากเนื้อผ้าเส้นด้ายจะหลบเข้าไปในร่อง ป้องหันการเสียดสีระหว่างเข็มและผ้า ไม่เช่นนั้นไหมจะขาด ดังนั้นจึงต้องเลือกเข็มที่มีรูเข็มและร่องเข็มให้ไหมผ่านได้อย่างสะดวก
เทคนิคการเลือกด้ายล่าง
โดยทั่วไปจะใช้ด้าย COTTON #80-120 สำหรับด้ายล่าง
ข้อสังเกต: ถ้าด่ายล่างขาดง่าย จะทำให้เกิดปัญหาด้ายขาดบ่อย ในทางตรงกันข้าม ถ้าด้ายล่างเหนียวเกินไป ก็จะทำให้เกิดปัญหาด้ายขาดและชิ้นงานที่ดูไม่สวย
1. ให้กลอด้ายตามลักษณะในรูปที่ 1
2. ถ้ากลอด้ายในลักษณะอื่นดังรูป จะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง รวมทั้งด้ายขาด, ด้ายติดเป็นปม,และชิ้นงานไม่สวย
3. ควรกลอด้ายล่างประมาณ 80% ของความจุกระสวย เพราะถ้ากลอมากเกินไปจะทำให้การส่งด้ายติดขัด
ข้อสังเกต: ความจุกระสวย 80% จะเท่ากับประมาณ 80 m. สำหรับกระสวยทั่วไป ถ้าเป็นกระสวยใหญ่ จะมีความจุ 2 เท่า
การตั้งความตึงหย่อนของกระสวย
1.ใส่กะสวย (2)ที่ผ่านการกลออย่างถูกต้อง
2. ดึงเส้นด้าย(5)ผ่านร่องกระสวย(3)และดึงออกทางร่องไหม(4)ดึงเส้นด้ายดูว่ากระสวยหมุนไปในทิศทางดังรูปหรือไม่
3. ปรับความตึงหย่อนของไหม ด้วยสกรูที่ปีกกระสวย(6)
4. ดึงเส้นด้ายออกมา จากกระสวย ประมาณ 50mm. ก่อนที่จะใส่เข้าไปในกระโหลก
ข้อสังเกต: ความตึงที่เหมาะสม
จับเส้นด้ายและดึงขึ้น-ลง เบาๆ เส้นด้ายควรตามแรงขึ้นตามน้ำหนักของมันความตึงควรจะประมาณ 20-30 g.
เทคนิคการเลือกไหม
การเลือกด้ายบนหรือไหมสำหรับปัก
1.จะต้องมีเกลียวที่เท่ากัน จับแล้วลื่น และมีความหนาทีเท่ากัน
2.ต้องพันเกลียวแน่น ไม่มีหลวม และต้องพันเกลียวไปทางซ้าย (เพราะ ROTARY HOOK หมุนไปทางซ้าย ทวนเข็ม
นาฬิกา) เกลียวที่บิดไปทางซ้ายจะช่วยป้องกันไม่ให้ไหมคลายเกลียวระหว่างปัก
3.ไหมต้องไม่เก่าจนเปลี่ยนสภาพไปทั้งเฉดสีและความลื่น
4.ไหมต้องคงสภาพเดิม คุณภาพคงเดิม
5.ความหนาของเส้นไหมต้องเหมาะสมกับเข็มที่ใช้
6.เส้นไหมต้องยืดและหดได้เล็กน้อย
7.ความเหนียวของไหมต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน
8.เส้นไหมจะต้องไม่มีปมหรือความผิดพลาดอื่นๆ
9.เส้นไหมจะต้องไม่สีตก
10.เส้นไหมจะต้องราคาไม่แพง หรือหาได้ง่าย โดยทั่วไปแล้ว ไหมปักที่ใช้จะเป็นไหม RAYON #120
11.เลือกลักษณะการกลอไหม จะมี 3 ลักษณะใกรกลอไหมให้เป็นหลอด คือแบบเนยแข็ง (Cheese) ,โคน(Cone)
และแบบปลายเปิด(Single-end)
*แบบเนยแข็งไม่เหมาะสมที่จะใช้กับเครื่องปัก ควรจะเลือกใช้แบบโคน หรือแบบปลายเปิด